วันพฤหัสบดี ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 10:02 น.

อื่นๆ » คอลัมน์

บ้านเมืองพระเครื่อง

อ. วันชัย : วันอาทิตย์ ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2567, 13.26 น.

พระเด่นคนดังบ้านเมือง (13 ต.ค.67)

“เหรียญปล้องอ้อยหลวงปู่เพิ่มเนื้อทองคำปี18  6 แสน”

 

 

เหรียญปล้องอ้อยทองคำหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้วปี 18  เหรียญรุ่นนี้หาทุนจัดสร้างโรงเรียนเพิ่มวิทยา  นิมนต์พระเกจิชื่อดัง 108 รูปทำพิธีปลุกเสก พร้อมกับพระกริ่งพุทธชัยศรี จัดเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวัดกลางบางแก้ว จึงเป็นเหรียญพิธีเยี่ยมพระเกจิชื่อดัง เช่น หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงปู่เขียววัดหรงบน  หลวงพ่อแช่มวัดดอนยายหอม  หลวงพ่อลำไยวัดทุ่งลาดหญ้า หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์  หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม  หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม หลวงพ่อนำวัดดอนศาลา หลวงพ่อสุดวัดกาหลง  หลวงพ่อพริ้งวัดโบสถ์โก่งธนู  หลวงพ่อหินวัดระฆัง หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ หลวงพ่อจรัญวัดอัมพวัน หลวงพ่อเส็งวัดบางนา พุทธศิลป์และพุทธคุณเต็มเปี่ยมตามแบบพิธีโบราณ เหรียญปล้องอ้อย หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้วเนื้อทองคำ ปี 18 เหรียญนี้ โบ้ท พระประแดง เพิ่งบุกมาจากร้านเขียด ทองคำ พันธุ์ทิพย์ 600,000 บาท  นี่แหละ “เจ้ากรมพระหลวงปู่เพิ่ม” วัดกลางบางแก้วตัวจริงเก็บพระแท้และสวยแชมป์ๆไว้ทุกรุ่น


“พระนาคปรก ศิลปะบายน เนื้อสำริดอายุ 800 ปี”

 


พระนาคปรก ศิลปะบายน(เขมร) เนื้อสำริดสนิมเขียว อายุการสร้างสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราว 800 ปีองค์นี้ คุณเต้ สระบุรี มอบให้กับสถาบันพระปกเกล้า นำไปประมูลในงานประกวดการอนุรักษ์พระบูชา พระเครื่อง และเหรียญคณาจารย์ของสถาบันพระปกเกล้าวันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม 2567 ด้วย อ.เต้ สระบุรี เป็นศิษย์เก่าที่จบจากสถาบันแห่งนี้ พระพุทธรูปปางสมาธินาคปรก พระพักตร์เหลี่ยม พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หนา สวมกระบังหน้า  สวมมงกุฎทรงกรวยแหลม  สวมกุณฑล กรองศอ พาหุรัด ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนขนดนาค 3 ชั้น ด้านหลังมีพญานาค 7 เศียรแผ่พังพาน องค์พญานาคตกแต่งด้วยลายเกล็ดนาค


“พระผงสุพรรณหน้าหนุ่ม สภาพเดิม 4 ล้าน”

 


พระผงสุพรรณหนึ่งในราชาพระเครื่องชุดเบญจภาคี  องค์นี้พิมพ์หน้าหนุ่ม เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาพบที่พระปรางวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ปี พ.ศ.2456 พระยาสุนทรบุรีให้มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการพบแผ่นลานเงินลานทองจารึกเป็นหลักฐานทำให้รู้ว่า ปี 1890 พระราชาธิบดีที่ 1 เชิญพระมหาเถร ปิยะทัสสีสารีบุตรเป็นประธาน ร่วมกับฤาษีทิวาลัยจัดสร้าง จึงเป็นพระเครื่องสกุลสูงของจังหวัดสุพรรณบุรี เปรียบได้ชั้นกษัตริย์ของเมืองสุพรรณ พระผงสุพรรณเรื่องพุทธคุณเป็นเลิศด้านโภคทรัพย์ แคล้วคลาด มหาอุด พระผงสุพรรณองค์นี้พิมพ์หน้าหนุ่มองค์นี้ของกำนันมานะ คงวุฒิปัญญา


“พระหลวงปู่ทวดพิมพ์เตารีดเล็กหน้าอาปาเช่”

 


พระหลวงพ่อทวดเตารีดเล็กพิมพ์อาปาเช่ วัดช้างให้ ปี 2505 รุ่นนี้ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรประธานจัดสร้าง ด้วยเนื้อทองผสม กรรมวิธีสร้างแบบการเทหล่อโบราณ พระเณรช่วยกันทำในวัดช้างให้ ลักษณะพิมพ์เป็นองค์หลวงปู่ทวดนั่งสมาธิอยู่บนบัวคว่ำบัวหงาย 14 กลีบ ด้านหลังมองดูเหมือนเตารีด โบ้ หาดใหญ่ ผู้ชำนาญการพระหลวงปู่ทวดจะไปเป็นกรรมการรับตรวจเช็คพระหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ในงานสืบสานมรดกพระเครื่องล้ำค่า ท่านจะได้ชมพระเครื่อง 100 ล้าน ทำพิธีเป่าทองเมตตามหานิยมโดยพระอาจารย์บุญค้ำ วัดชัยเภรีย์ สุพรรณบุรี แผงจรกว่า 2,000 แผง จับแจกรางวัล 50,000 บาท  วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 67 และวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม 2567 ที่เดอะมอลล์ บางแค ชั้น 3 ศูนย์พระเครื่องมาตรฐานสากล จัดโดยหยก สวนกวางตุ้ง


“พระสังกัจจายน์พิมพ์ปั้นหลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์”

 


ตามประวัติที่เล่าขานกันมา หลวงพ่อแก้วท่านสร้างพระพิมพ์ปั้นทั้งที่วัดปากทะเล จ.เพชรบุรี และวัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี นอกจากพระปิดตาพิมพ์ปั้นแล้วท่านยังสร้างพระสังกัจจายน์พิมพ์ปั้น ต้องทำทีละองค์ไม่มีแบบกดเหมือนปัจจุบัน จึงไม่มีจุดตำหนิสังเกตแน่นอนต้องจดจำเนื้อพระผงคลุกรักมีความเก่าถึงยุคและพิมพ์ที่คุ้นตาให้แม่นยำ องค์นี้เป็นพระสังกัจจายน์เนื้อผงคลุกรักมีอายุความเก่าถึงยุค เจ้าของพระ คุณเก๋ ปากน้ำ ร้านใหญ่อยู่ชั้น 3 อาณาจักรพระเครื่องเซียร์รังสิต  โทร.064-8082237  เชิญชวนไปร่วมงานประกวดพระเครื่องที่เซียร์รังสิตวันที่ 1- 3 พฤศจิกายน 2567


“ประคำยอดบายศรี หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า”

 


ประคำยอดบายศรีหลวงปู่ศุข เกสโร หรือพระครูวิมลคุณากร วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ท่านสร้างประคำครั้งแรกในราวปี พ.ศ.2440 ประคำจัดเป็นเครื่องรางชนิดหนึ่ง หลวงปู่ศุขจัดสร้างในวาระพิธีใหญ่เช่นพิธีไหว้ครูมอบให้ลูกศิษย์ที่ครอบครอบครูกับท่าน ในหนึ่งเส้นจะประกอบด้วย วัตถุอาถรรพ์ ได้แก่ กะลา งา เขี้ยว เขา มีหลายขนาด ประคำมือ ประคำนิ้ว พุทธคุณสุดยอดทุกด้านสุดแต่จะอธิษฐานขอ ผู้รู้บอกว่า หายากแทบจะนับเส้นได้เลย อายุความเก่าน่าจะเกิน 100 ปี จึงหาชมได้ยากยิ่งในปัจจุบัน ประคำยอดบายศรีเส้นนี้ ที่ 1 งานประกวดสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ที่ศูนย์ราชการฯ จัดโดยสถาบันพระปกเกล้า 6 ตุลาคม 67 อยู่ในความครอบครองของ คุณดวงพร ทัศนนิพันธ์ (แท้ทันเครื่องราง) นักสะสมเครื่องรางยอดนิยม


“พระรอดพิมพ์ใหญ่ วัดมหาวันลำพูน”

 


พระรอดวัดมหาวัน  จ.ลำพูน สุดยอดแห่งพระพิมพ์ของล้านนา  อายุกว่า 1,000 ปี เป็นพระเนื้อดินเผาที่ละเอียดมาก ด้านหลังเป็นรอยคล้ายนิ้วมือ มีพุทธศิลป์งดงาม องค์พระประธานนั่งปางมารวิชัย ด้านหลังมีใบโพธิ์เป็นบัลลังก์ใช้เป็นจุดสังเกตของเซียนพระ ใบโพธิ์ด้านบนจะมีจุดโพธิ์ติ่ง มี 3 ใบเหนือปลายพระเกศ  ด้านข้างพระเศียร 2 ใบ กลุ่มโพธิ์แถวนอกใหญ่กว่าแถวในส่วนโพธิ์คู่จะมีระดับสูงเกือบเสมอกัน ที่ริมฝีปากเม้มจู๋มีรอยหยักพับที่ริมฝีปากบนชัดเจนมาก และยังพบว่ามีถึง 6 สีคือ ขาว แดง เหลือง เขียว เขียวคราบเหลืองและเขียวเข้ม พระรอดพิมพ์ใหญ่วัดมหาวัน องค์นี้อยู่ในความครอบครองของ อ.นุ พระแท้เมืองสยาม นายกสมาคมส่องพระแท้เมืองสยาม โทร. 084-5615885


“พระร่วงรางปืน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุศิลปะบายน”

 


พระร่วงยืนหลังรางปืนเป็นพระศิลปะบายน ยุคเขมรเรืองอำนาจปกครองเมืองบริเวณนี้ และมีการสร้างพระไว้ก็คือพระร่วง ลักษณะพิเศษด้านหลังเป็นร่องลึกยาวตามองค์พระ สมัยก่อนเรียกกันว่าหลังกาบหมาก ภายหลังมีผู้นำไปใช้มีประสบการณ์แคล้วคลาดเรื่องปืน จึงเรียกหลังรางปืน ปัจจุบันวงการยกให้เป็นจักรพรรดิพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงเข้ม บางองค์ออกสีลูกหว้า ที่พบเล่นหานิยมในวงการมี 5 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ฐานสูง พิมพ์ใหญ่ฐานเตี้ย  พิมพ์แก้มปะ พิมพ์หน้าหนุ่ม และพิมพ์เล็ก พระร่วงรางปืนพิมพ์ใหญ่หลังรางปืนองค์นี้สนิมแดงจัดจ้านหรือแดงเข้มของท่านพลตรีเฉิดวิทย์ กองจินดา


“พระท่ากระดานพิมพ์ใหญ่ กรุศรีสวัสดิ์”

 


พระท่ากระดานตั้งตามชื่อวัดที่พบพระ สมัยนั้นเรียกวัดนี้ว่าวัดกลาง เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งใน 3 วัดของเมืองท่ากระดานซึ่งตั้งอยู่ริมน้ำแควใหญ่ ที่มีความสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยาและเมืองไทรโยคมีเจ้าปกครองเป็นเมืองหน้าด่านสู้รบกับพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ ปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอศรีสวัสดิ์ ปี 2495 มีการขุดหาวัตถุโบราณพบพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงที่วัดกลางหรือวัดท่ากระดาน อยู่ในอำเภอศรีสวัสดิ์ องค์นี้เป็นหนึ่งในพระที่พบจากการขุดหาของชาวบ้านในย่านนั้นเก็บรักษาตกทอดไว้กว่าชั่วอายุคน ภายหลังแบ่งปันมาอยู่กับ อ.โกร่งศรีสวัสดิ์ ชมได้ที่ร้าน อ.โกร่ง ศรีสวัสดิ์ เจ้ากรมพระท่าพระดาน ห้างพระเครื่อง sc สายใต้ใหม่ ชั้น 2 โทร.090-9862595


“เจิมมือเปิดดวงเศรษฐี แจกข้าวสาร 500 กระสอบ”

 


หลวงพ่อเล็ก (พระครูปลัดวิทยา ฐานธัมโม) เจ้าอาวาสวัดไผ่สามตำลึง  ตำบลไทรงาม อ.บางเลน จ.นครปฐม เจ้าตำรับเบี้ยแก้เบี้ยกันจัดพิธีใหญ่เจิมมือเปิดดวงเศรษฐี ด้วยความเมตตาจากครูบาวชิริล วัดเดิมบาง แจกบัตรคิว 6.00 น.- 12.00 น. วันที่ 24 ตุลาคม 2567  เริ่มพิธีเจิมมือ 12.00 น. แจกข้าวสาร 500 (กระสอบละ 5 ก.ก.) & ท่านที่ยังไม่ได้เหรียญปล้องอ้อยรุ่นเจ้าสัวมงคลนิมิต ปลุกเสกเมื่อ 26 กันยายน 67 ในอุโบสถพระเกจิชื่อดังนั่งปรกอธิษฐานจิต เช่น หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อแป๊ะวัดสว่างอารมณ์  หลวงพ่อเล็กวัดไผ่สามตำลึงและอีกหลายองค์ไปรับได้ในวันงานทอดกฐินสามัคคี 20 ตุลาคม 67 สอบถาม 061-2931162, 061-8343773


“หลวงปู่มหาศิลาเสกกำไลเรียกทรัพย์วัดตะเคียน”

 


เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 67 พระครูธรรมธรสงบ กิตติญาโณ,ดร. เจ้าอาวาสวัดตะเคียน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ได้ไปกราบขอความเมตตาพระเกจิดังภาคเหนือและภาคอีสาน (1) หลวงพ่อเจ้าคุณพระครูบาอริยชาติ วัดแสงแก้วโพธิญาณ จ.เชียงราย  (2) หลวงปู่เจ้าคุณมหาศิลา  วัดพระธาตุหมื่นหิน จ.กาฬสินธุ์ (3) หลวงพ่อเจ้าคุณพระอาจารย์สุริยันต์ วัดป่าวังน้ำเย็น จ.มหาสารคาม ทั้ง 3 รูปได้เมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกกำไลเรียกทรัพย์ ที่ระลึกงานกฐินวัดตะเคียน ปี 2567 กำหนดทอดกฐินวันที่ 26 ตุลาคมนี้เวลา 10.00 น. & วันที่ 6 ตุลาคม 67 พิธีปลุกเสกใหญ่กำไลเรียกทรัพย์ที่วัดตะเคียนรวมพระเกจิอีก 6 รูป 1. หลวงพ่อเจ้าคุณมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่  2. หลวงพ่อเจ้าคุณชำนาญ วัดชินวราราม  3. หลวงพ่อเจ้าคุณสมชาย วัดปริวาส 4. หลวงพ่อเจ้าคุณอ่าง วัดใหญ่สว่างอารมณ์   5. หลวงพ่อตี๋วัดหูช้าง 6.พระอาจารย์อ๊อด วัดหูช้าง เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ ประธาน 1,000 บาท รับกำไล 3 วง 3 เนื้อ รองประธาน 500 บาท รับกำไล 2 วง 2 เนื้อ กรรมการ 100 บาทรับกำไล 1 วงลงยาอลูมิเนียม สอบถาม โทร.02-5951851, 062-7929856