การศึกษา
อธิการ สจล.แนะ “แก้มลิงใต้ดิน BKK” นวัตกรรมอ่างเก็บน้ำยักษ์ใต้ดิน
วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2562, 13.22 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

อธิการ สจล.แนะ “แก้มลิงใต้ดิน BKK” นวัตกรรมอ่างเก็บน้ำยักษ์ใต้ดิน
ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร และอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ปัจจุบันโครงสร้างของกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ระดับถนนต่ำกว่าแหล่งน้ำ ประกอบกับท่อระบายน้ำอยู่สูงกว่าถนน โดยเฉพาะบริเวณซอยที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่น เมื่อถึงช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีฝนตกชุก จึงทำให้เกิดปัญหาระบายน้ำไม่ทัน และท่วมขังจนกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ถึงแม้ว่ากรุงเทพมหานครจะมี ‘อุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำ’ เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาน้ำท่วมแล้วก็ตาม แต่ด้วยขีดความสามารถในการระบายน้ำที่จำกัด เช่น ปัญหาเครื่องสูบน้ำขัดข้องไม่พร้อมทำงาน และปัญหาขยะอุดตัน ทำให้ไม่สามารถลำเลียงน้ำไปยังอุโมงค์ระบายน้ำได้ จึงเป็นที่มาของแนวคิดของเทคโนโลยีที่จะนำมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว ก็คือการสร้าง แก้มลิงใต้ดินตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9
โดยแก้มลิงใต้ดิน BKK เป็นนวัตกรรมอ่างเก็บน้ำใต้ดิน ซึ่งใช้วิธีเปิดหน้าดินเป็นแทงค์เก็บกักน้ำ โดยใช้เครื่องมือเจาะคว้านดินด้านในสร้างเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ใต้ดินขึ้น โดยที่ไม่กระทบการใช้ประโยชน์จากผิวหน้าดิน ที่มีจุดยุทธศาสตร์ที่สามารถทำได้ทันที เช่น บริเวณสวนสาธารณะสวนจตุจักร บึงในพื้นทีโรงงานยาสูบ ซึ่งสามารถใช้เป็นพื้นที่ในการกักเก็บน้ำในช่วงเวลาที่มีฝนตกชุกได้ โดยเฉพาะจุดเสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซาก ได้แก่ ลาดพร้าว บางซื่อ รามคำแหง ปทุมวัน เพลินจิต สุขุมวิท ซึ่งหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการน้ำในช่วงเวลาที่มีฝนตกชุก ที่สามารถเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์จากแก้มลิงใต้ดิน BKK คือ การใช้เครื่องสูบน้ำขนาดเล็ก เพื่อระบายน้ำออกไปยังอุโมงค์ใต้ดินที่อยู่ใกล้เคียง ก่อนระบายออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเวลาที่น้ำทะเลไม่สูง ที่ใช้หลักการระบายน้ำตามกฎของแรงโน้มถ่วง เพิ่มประสิทธิภาพของการระบายน้ำ
พร้อมเสนอใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์ในการติดตามการทำงานของเครื่องสูบน้ำในจุดต่างๆ ซึ่งสามารถทำได้ทันที มีต้นทุนต่ำ เพื่อให้การระบายน้ำไม่สะดุด และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนกรุงเทพมหานครได้อย่างยั่งยืน ที่สามารถทดแทนระบบเดิมที่ใช้หลักการสูบน้ำขึ้นที่สูงต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลก นอกจากนี้ ยังเสนอให้ใช้เทคโนโลยีการติดตามการทำงานของเครื่องสูบน้ำแบบอัตโนมัติ เพื่อให้ทราบสถานการณ์ทำงานของเครื่องสูบน้ำ และยังช่วยในการประเมินศักยภาพของเครื่องสูบน้ำได้จากศูนย์กลางได้ โดยเจ้าหน้าที่จะมีเวลาในการประเมินความพร้อมในกรณีที่อุปกรณ์ขัดข้อง ซึ่งสามารถตัดสินใจเคลื่อนย้ายอุปกรณ์จากพื้นที่ใกล้เคียง ไปใช้งานในพื้นที่ที่มีความจำเป็นได้ ช่วยให้ระบบการระบายน้ำไม่ขาดตอน และเป็นโมเดลที่แก้ปัญหาปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ได้อย่างยั่งยืน
ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ดี ปัญหาอุทกภัยเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่กรุงเทพฯ กำลังประสบ และได้รับการพูดถึงจากสังคมเป็นอย่างมาก มิใช่ปัญหา “อุทกภัย” แต่เป็น “ปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฝนตก” อันส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การคมนาคม ตลอดจนก่อให้เกิดมูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ซึ่งปัญหานี้ไม่ใช้หน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่ต้องบูรณาการการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยแก้มลิงใต้ดิน BKK เป็นโมเดลที่หลายประเทศเลือกใช้ โดยเฉพาะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเอง ที่มีข้อกำจัดด้านพื้นที่คล้ายกับกรุงเทพมหานคร ดังนั้น จึงมั่นในว่าโมเดลดังกล่าวจะเป็นแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ได้ในระยะยาว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การศึกษา
Top 5 ข่าวการศึกษา ![]()
- “ศุภมาส” จัดงาน “อว. Job Fair 2025” ยิ่งใหญ่กลางกรุง ตลาดอาชีพเพื่ออนาคต ชูเป้าหมายเปลี่ยนฝันเป็นอาชีพจริง 10 พ.ค. 2568
- อววน. ผนึกกำลัง มทร.ธัญบุรี ยกระดับปทุมธานี สู่เมืองนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 10 พ.ค. 2568
- ศศินทร์คว้าสองรางวัลจาก MBAChina 10 พ.ค. 2568
- นศ.ราชมงคลพระนครรางวัลออกแบบสถาปัตยกรรม ในงานสถาปนิก’68 10 พ.ค. 2568
- ENZ จัดกิจกรรมศึกษาต่อเมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ เปิดประสบการณ์ห้องเรียนจำลอง 10 พ.ค. 2568
ข่าวในหมวดการศึกษา ![]()
“ศุภมาส” จัดงาน “อว. Job Fair 2025” ยิ่งใหญ่กลางกรุง ตลาดอาชีพเพื่ออนาคต ชูเป้าหมายเปลี่ยนฝันเป็นอาชีพจริง 16:53 น.
- อววน. ผนึกกำลัง มทร.ธัญบุรี ยกระดับปทุมธานี สู่เมืองนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 13:31 น.
- ศศินทร์คว้าสองรางวัลจาก MBAChina 12:23 น.
- นศ.ราชมงคลพระนครรางวัลออกแบบสถาปัตยกรรม ในงานสถาปนิก’68 09:48 น.
- ENZ จัดกิจกรรมศึกษาต่อเมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ เปิดประสบการณ์ห้องเรียนจำลอง 06:09 น.