การศึกษา
ผอ.สำนักพุทธฯโผล่สภา ยันเดินหน้าคุมเข้มวัดเงินสดไม่เกินแสน
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2568 ที่อาคารรัฐสภา นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมด้วยนายบุญเชิด กิตติธรางกูร รองผู้อำนวยการฯ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางจัดระเบียบวัดทั่วประเทศ โดยยืนยันว่าพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีมีอยู่มาก แม้สังคมจะได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมส่วนบุคคลบางราย
นายอินทพรเปิดเผยว่า มาตรการจำกัดการถือเงินสดของวัดไม่เกิน 100,000 บาทนั้น ได้เริ่มผลักดันตั้งแต่ปี 2564 ผ่านกฎกระทรวงที่กำหนดให้วัดจัดทำบัญชีรับ-จ่ายอย่างเป็นระบบ เปิดบัญชีธนาคารชื่อวัด โดยมีผู้มีอำนาจเบิกจ่ายร่วมกัน 2 ใน 3 คน และหากมีเงินสดเกินจากนี้ต้องนำฝากธนาคาร อย่างไรก็ตาม กฎดังกล่าวไม่สามารถบังคับใช้จริงได้ เนื่องจากไม่มีบทลงโทษชัดเจน จึงจำเป็นต้องใช้อำนาจคณะสงฆ์ โดยมหาเถรสมาคมมีมติให้ถือเป็นวินัยสงฆ์ หากไม่ปฏิบัติตามจะถูกตรวจสอบและลงโทษเช่นเดียวกับวินัยข้าราชการ
สำหรับเหตุผลที่กำหนดเพดานเงินสดไม่เกิน 1 แสนบาท นายอินทพรอธิบายว่า เพื่อป้องกันความเสี่ยงการทุจริตจากการถือเงินสดจำนวนมาก โดยเฉพาะวัดที่มีรายได้สูงจากเงินบริจาค จึงสนับสนุนให้ใช้ระบบ e-Donation ผ่าน QR Code ซึ่งปัจจุบันวัดกว่า 86% จากทั้งหมด 44,000 วัดทั่วประเทศเข้าสู่ระบบแล้ว พร้อมชวนประชาชนหันมาใช้วิธีนี้ในการทำบุญเพื่อลดการใช้เงินสดและเพิ่มความโปร่งใส
เมื่อถูกถามถึงมาตรการเรียกคืนความศรัทธาในวงการสงฆ์ นายอินทพรกล่าวว่า ปัจจุบันมีพระอยู่กว่า 300,000 รูป ส่วนใหญ่ยังคงยึดมั่นในพระธรรมวินัย และแม้พฤติกรรมบางรายจะส่งผลกระทบต่อภาพรวม แต่ขอให้ประชาชนเชื่อมั่น พร้อมขอความร่วมมือจากชุมชนในการตรวจสอบวัดและพระในพื้นที่
เกี่ยวกับความคืบหน้าของร่างกฎหมายห้ามพระสงฆ์ “เสพเมถุน” นายอินทพรระบุว่า ได้ส่งร่างให้หลายฝ่ายร่วมพิจารณา โดยพบว่ามีความคิดเห็นหลากหลาย โดยเฉพาะในหมวดโทษ ซึ่งครอบคลุมทั้งพระ สีกา และฆราวาสที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ไม่ใช่เฉพาะกรณีการเสพเมถุนเท่านั้น แต่รวมถึงพฤติกรรมอื่นที่ทำให้คณะสงฆ์เสื่อมเสีย เช่น การอวดอุตริ สักยันต์ และประกอบพิธีรดน้ำมนต์โดยมิชอบ ก็จะมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ซึ่งบางโทษมีข้อเสนอว่ารุนแรงเกินไป จึงอยู่ระหว่างการปรับปรุง
นายอินทพรยังกล่าวถึงการประชุมเมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการประชุมเร่งด่วนเพื่อรับทราบกรณีพระที่ยังไม่ลาสิกขาหรือยังติดต่อไม่ได้ โดยมีรายงานว่าหนึ่งในพระที่ถูกกล่าวหาในจังหวัดพิจิตรได้ลาสิกขาแล้ว ซึ่งถือว่าพ้นจากความผิดทางพระธรรมวินัย อย่างไรก็ตาม หากตรวจสอบพบว่ามีการนำเงินวัดไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ในช่วงที่ยังเป็นพระ ก็จะยังถือว่าอยู่ในฐานะเจ้าพนักงานของรัฐ และอาจมีความผิดในทางกฎหมายได้
ในตอนท้าย นายอินทพรกล่าวว่า ขณะนี้ยังมีพระอีกอย่างน้อย 11 รูป ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล และได้กำชับให้มหาเถรสมาคมเร่งดำเนินการตามขั้นตอนอย่างโปร่งใสและจริงจัง เพื่อรักษาศรัทธาของสังคมต่อสถาบันสงฆ์.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
หน้าแรก » การศึกษา
Top 5 ข่าวการศึกษา ![]()
- วัดพระธรรมกาย จัดบวชนานาชาติ 13 สัญชาติ กว่า 120 รูป มุ่งศึกษาพระธรรม 15 ก.ค. 2568
- "ลิณธิภรณ์" ชี้รถไฟฟ้า 20 บาทเชื่อมฝันนักเรียนไทย สู่การศึกษากว้างไกลขึ้น ประหยัดเวลาเด็ก-ค่าใช้จ่ายครอบครัว 15 ก.ค. 2568
- พระนักวิชาการสันติศึกษา ร่วมถกสิทธิมนุษยชนผ่านมุมมองพุทธศาสนา ห่วงวิกฤตสถาบันสงฆ์–เสนอแนวทางปฏิรูป 15 ก.ค. 2568
- ผอ.สำนักพุทธฯโผล่สภา ยันเดินหน้าคุมเข้มวัดเงินสดไม่เกินแสน 15 ก.ค. 2568
- ราชกิจจาฯประกาศยกเลิกพระบรมราชโองการ สถาปนาสมณศักดิ์และพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์รวม 81 รูป 15 ก.ค. 2568
ข่าวในหมวดการศึกษา ![]()
"ข้าวทุกเม็ดคือศรัทธา" เจ้าคุณหรรษาเตือนใจภิกษุ พึงสำรวมวินัยก่อนออกบิณฑบาต 09:33 น.
- ถอดบทเรียนให้แล้วกรณีสีกากอล์ฟ! ดำเนินการเลยทางออกเพื่อการปฏิรูปคณะสงฆ์ไทย 14:49 น.
- สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรม วันงดดื่มสุราแห่งชาติ ละเว้นสิ่งมึนเมาที่ตั้งแห่งความประมาท 13:17 น.
- พิธีสวนสนามลูกเสือแห่งชาติ ครบรอบ 114 ปี ยิ่งใหญ่ เด็กกว่า 10,000 คนร่วมงาน ลูกเสือ-เนตรนารีทั่วประเทศ แสดงทักษะความสามารถต่อหน้าผู้แทนพระองค์ 11:14 น.
- วว. จับมือ มรภ.ราชนครินทร์/ มรภ.กำแพงเพชร ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชุมชน 06:01 น.