วันเสาร์ ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 07:18 น.

ภูมิภาค

โคราชวิกฤติภัยแล้ง! ผู้ว่าเต้นผาง! เรียกประชุมบูรณาการ

วันพฤหัสบดี ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562, 21.24 น.

โคราชขณะนี้วิกฤติภัยแล้งมากๆ อ่างลำพระเพลิงน้ำ 16% ผู้ว่าเต้นผางเรียกประชุมบูรณาการหัวหน้าส่วนราชการครบครันช่วยเหลือประชาชนขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ อ่วม.อ่างใน อ.คงและอ.พระทองคำ น้ำใช้การได้เป็นศูนย์  


 
            

นคราชสีมา ช่วงสายของวันนี้ (28 พ.ย. 2562) ที่หอประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลาง จ.นครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา  เป็นประธานการประชุมกรมการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการ จ.นครราชสีมา โดยมีรอง ผวจ. , หัวหน้าส่วนราชการ , นายอำเภอ , ผกก.สถานี และตัวแทน ทั้ง 32 อำเภอ , ปภ.เขต 5 , ปภ.นครราชสีมา , สำนักชลประทานที่ 8 , ชลประทานจังหวัด , เกษตรจังหวัด ,  เกษตรอำเภอ , กรมทรัพยากรน้ำบาดาล , ผอ.โครงการเขื่อนขนาดใหญ่ 4 แห่ง อาทิ เขื่อนลำตะคอง , เขื่อนลำพระเพลิง , เขื่อนลำแชะ และเขื่อนลำมูลบน , อปท. เข้าร่วมประชุมครบครัน ซึ่งมีวาระเรื่องการรายงานสถานการณ์ภัยแล้ง และน้ำในเขต จ.นครราชสีมาที่ขณะนี้วิกฤติมากส่งผลกระทบรุนแรงเป็นบริเวณกว้างใน 28 อำเภอ 72 ตำบล 236 หมู่บ้าน ได้มีการสั่งการให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดูแลช่วยเหลือพี่น้องประชาชนชาวบ้าน ซึ่งมีการแจกจ่ายน้ำให้กับหมู่บ้าน จำนวน 22 หมู่บ้าน แต่มีหมู่บ้านที่จะต้องจับตาที่จะต้องแจกน้ำในช่วงเดือนมกราคม 2563 จำนวน 297 หมู่บ้าน และให้ทางอำเภอแต่ละอำเภอวิเคราะห์ในการแก้ปัญหา โดยในระดับท้องถิ่นทำอย่างไรที่จะแก้ได้ อาทิ เจาะบ่อบาดาลหริการสูบน้ำระยะไกล ส่วนอะไรที่แก้ไม่ได้ให้ต้องเน้นย้ำในการรายงานเข้ามายังจังหวัดฯ โดยถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องแรก ส่วนมาตรการที่สองเรื่องการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ทั้งค่าเก็บเกี่ยวและการปรับปรุงคุณภาพข้าว ไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนไม่เกิน 20 ไร่หรือครัวเรือนไม่เกิน 10,000 บาท และเรื่องสนับสนุนต้นทุนการผลิต

 


 
             

ทั้งนี้การประชุมคณะกรรมการ ก.ช.ภ.จ. แล้วเสร็จ 3 ครั้งมีมติเห็นชอบให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน กรณีฝนแล้งเงินชดเชยช่วยเหลือพี่น้องประชาชนใน จ.นครราชสีมา   เป็นยอดเงินที่สูงมาก เกือบ 2,000 ล้านบาท ด้านค่าข้าว พืชต่างๆ  รวม 29 อำเภอ รวมเป็นเงินกว่า 1,900  เกือบ 2,000 ล้านบาท (อยู่ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอ ครม.เพื่อพิจารณาให้การอนุมัติ) เนื่องจากปีนี้ จ.นครราชสีมาจะต้องได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเหมือนปีที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะเป็นอะไรที่แล้งมากๆ ขอฝากให้นายอำเภอ ผู้บริหาร อปท. ประชุมกำชับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เรื่องการเก็บสต็อกน้ำที่มีอยู่ตามลำคลองต่างๆหรือการทำฝายชะลอน้ำกักเก็บน้ำ     
 


ในส่วนชลประทาน จ.นครราชสีมา ได้รายงานสถานการณ์นำเขื่อน 4 แห่งและอ่างเก็บน้ำ 27 แห่ง โดยสภาพน้ำในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้วฯ ปัจจุบันมีน้ำอยู่ที่ 167 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 53% น้ำใช้การได้อยู่ที่ 114 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 49% , อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ.ปักธงชัยฯ มีน้ำเก็บกักอยู่ 25 ล้าน ลบ.ม. และน้ำใช้การ 25 ล้านหรือประมาณ 16% , อ่างเก็บน้ำลำมูลบน อ.ครบุรีฯ มีน้ำเก็บกัก 50 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 36% น้ำใช้การได้ 43 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 32% และอ่างเก็บน้ำลำแชะ อ.ครบุรีฯ มีน้ำเก็บกัก 92 ล้าน ลบ.ม. น้ำใช้การได้ 85 ล้าน ลบ.ม. โดยภาพรวมของน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 337 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 38% น้ำใช้การได้อยู่ประมาณ 290 ล้าน ลบ.ม. หรือ 35% สำหรับอ่างขนาดใหญ่ที่ค่อนข้างวิกติ ซึ่งจะต้องจัดสรรน้ำแบบประณีตและเข้มงวดมากที่สุดก็คือ อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ.ปักธงชัยฯ สถานการณ์น้ำขณะนี้สนับสนุนได้เพียงเรื่องการอุปโภค บริโภค เท่านั้น

 


 
            

ส่วนสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ทั้ง 23 แห่งปัจจุบันปริมาณน้ำเก็บกักรวมมีเพียง 93 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 28% คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การ 68 ล้าน ลบ.ม.หรือประมาณ 22% ถือว่าวิกฤติค่อนข้างมาก โดยมีอ่าง 14 แห่งมีน้ำใช้การต่ำกว่า 30%  และขณะนี้น้ำใช้การที่เป็นศูนย์ 0 หรือน้ำแห้งขอด มีอยู่ 2 อ่างคือ อ่างเก็บน้ำห้วยตะคร้อ อ.คงฯ และอ่างเก็บน้ำหนองกก อ.พระทองคำฯ ส่วนอีก 4 อ่างได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร ตอนบน และ อ่างห้วยปราสาทใหญ่ อ.ด่านขุนทดฯ , อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำเค็ม อ.บัวใหญ่ฯ และอ่างเก็บน้ำบึงกระโตน อ.ประทาย ตอนนี้ วิกฤติ ทั้ง 4 อ่างมีน้ำใช้การได้ต่ำกว่า 5% โดยสรุปในภาพรวมสถานการณ์น้ำทั้ง 27 แห่งรวมทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลางปัจจุบันมีน้ำรวม 430 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็น 35% น้ำใช้การได้ทั้ง 27 แห่งรวม 307 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็น 31% ส่วนการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งในเขต จ.นครราชสีมาแบ่ง 4 กิจกรรมหลักไว้คือ การอุปโภค บริโภค จัดสรรไว้ 62 ล้าน ลบ.ม. หรือ 35% , การอุตสาหกรรม 16 ล้าน ลบ.ม. หรือ 9% , การรักษาระบบนิเวศน์ 92 ล้าน ลบ.ม. หรือ 51% และการเกษตรกรรม 9 ล้าน ลบ.ม.หรือ 5% สนับสนุนการปลูกพืชใช้น้ำน้อย พืช ผัก สวนครัวหรือพืชไม้ยืนต้นตามบ้าน ส่วนการน้ำนาปรัง ประกาศนำนักงานชลประทานที่ 8 งดการทำนาปรังทั้งหมด 100% ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตชลประทานทั้งหมด เพื่อการอุปโภค บริโภคเป็นหลัก โดยรวมแผนจัดสรรน้ำในฤดูแล้ง ปี 2562/2563 จัดสรรน้ำไว้ 179 ล้าน ลบ.ม. ทั้ง 4 กิจกรรม ส่วนการช่วยเหลือการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคโดยการสูบน้ำยานไกลที่ อ.แก้งสนามนาง มาช่วยเหลือการผลิตประปาที่อ่างเก็บน้ำห้วยตะคร้อ ต.หนองมะนาว อ.คงฯ และการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ อ .เสิงสาง เพื่อเก็บกักน้ำในแหลบ่งเก็บกักในเขตพื้นที่ อ.ห้วยแถลงฯ และการสูบน้ำจากลำน้ำลำตะคอง เพื่อเข้ามาช่วยเหลือการอุปโภค บริโภคที่อ่างเก็บน้ำห้วยบ้านยาง ต.โคกกรวด อ.เมืองฯ และการผันน้ำจากลำน้ำลำตะคอง เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ทั้งสองฝั่ง ลุ่มลำตะคองเองและลุ่มลำเชียงไกร เขตพื้นที่ อ.โนนไทย , อ.เมือง และ อ.โนนสูง เป็นต้น

 

 

ส่วนการแจกจ่ายน้ำหรือการเปิดน้ำประปาเป็นเวลา หรือเป็นช่วงๆขอทางนายอำเภอได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนชาวบ้านในหมู่บ้าน โดยผ่าน อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านออกประชาสัมพันธ์หรือเสียงตามสายให้ทั่วถึง เช่น การลดแรงดันน้ำ การเปิดหรือปล่อยน้ำเวลา เช้า บ่าย เย็น กลางคืน เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ เหล่านี้เป็นต้น อย่างไรก็ตามเบื้องต้น ปภ.นครราชสีมา ได้สรุปรายงานหมู่บ้านที่คาดว่าจะขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2561 – เดือนมกราคม 2563 รวมทั้งสิ้น 28 อำเภอ 72 ตำบล 236 หมู่บ้าน

 

 

สถานการณ์ภัยแล้งที่ตำบลจันอัด อโนนสูง จ.นครราชสีมา นายอุทัย คงกลาง รองนายกฯ อบต.จันอัด เปิดเผยว่าทาง อบต.จันอัดได้ร่วมกำนัน ตำบลจันอัด และผู้นำชุมชนและชาวบ้าน ช่วยกันไปขอน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว (คลองไผ่) เพื่อนำน้ำมาใช้บริโภคภายในตำบลจันอัดและหมู่ใกล้เคียง โดยเริ่มไปขอให้เปิดนำ้มาแล้วก่อนหน้า 15 วัน กว่ามวลน้ำจะมาถึงตำบลจันอัด อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา นายอุทัยเปิดเผยต่อไปว่า ตนเองเมื่อเห็นน้ำมาถึงตำบลเราแล้ว ก็หายเหนื่อย ส่วนตัวไข้ขึ้น 2 ครั้ง แต่ก็ต้องสู้เพื่อชาวบ้าน ทั้งกำลังกายกำลังทรัพย์ที่พอจะช่วยได้

 

 

ผู้สื่อข่าวสอบถามนายพรชัย ปลั่งกลาง หนึ่งในชาวบ้านที่ไปช่วยกันลอกคูคลอง และถางหญ้าร่วมกับชาวตำบลจันอัด นายพรชัยกล่าวว่าตนและเพื่อนทีมหมูทองก็ได้ไปช่วย และนำนำ้เครื่องดื่มไปให้ชาวบ้านที่มาร่วมกันทำงานในครั้งนี้ และตนรู้สึกภูมิใจที่มีส่วนร่วม ในยามที่ชาวบ้านทุกข์ยากลำบากเช่นนี้

 

 

ทางด้าน กำนันทองพูน ปลั่งกลาง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า นี่เป็นครั้งประวัติศาสตร์ของตำบลจันอัดเลยทีเดียว ที่ต้องเจอกับภัยแล้งหนักขนาดนี้ ทางตำบลจันอัดของเราร่วมหลายหน่วยงาน และทางนายอำเภอโนนสูง โดยนายอำเภอก็ช่วยประสานงานขอให้ทางอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว และที่ต่างที่อยู่ใต้เขื่อนช่วยอำนวยความสะดวก ในการปล่อยนำ้สำหรับบริโภคในตำบลจันอัดครั้งนี้ ซึ่งได้ความร่วมเป็นอย่างดี ตนเองร่วมกับผู้ใหญ่และผู้ช่วย 8 หมู่บ้าน นำประชาชนไปช่วยกันถางหญ้าตามแหล่งส่งน้ำ คูคลอง เพื่อให้น้ำไหลสะดวกและเร็วขึ้น

 


กำนันกล่าวต่อไปว่า “ยิ่งเศรษฐกิจแบบนี้ตนรู้สึกเกรงใจชาวบ้าน และผู้นำชุมชนทุกส่วนทุกฝ่ายที่ต้องสละเวลามาช่วยกันในครั้งนี้ บางคนไม่ได้มาช่วยด้วยแรง ก็นำเงินมาซื้อน้ำดื่มช่วยทีมงานที่มาถางหญ้า ลอกคลองเพื่อน้ำจะได้ไล่ได้สะดวกขึ้น” ตนต้องขอขอบพระคุณทุกไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

 

ล่าสุดวันนี้ (28 พ.ย.) น้ำจากเขื่อนลำตะคองมาถึงบ้านด่านติงแล้ว กำลังไหลเข้าลำห้วยแล้ว บ้านโค้งกระชายก็มีน้ำมาถึงแล้ว อีก  1 วันก็ถึง บ้านจันอัด และบ้านสำโรง กำนันกล่าวว่า ตนรู้สึกเป็นห่วงบ้านสำโรง เพราะอยู่ปลายน้ำ กลัวว่าทางเขื่อนเขาจะปิดน้ำก่อน ทำให้น้ำไม่ไปถึงบ้านสำโรง ตนหวังว่ามันคงไม่เป็นแบบนั้น

 


ผู้สื่อข่าวถามว่าน้ำจะพอใช้ไปได้นานแค่ไหน กำนันทองพูน ตอบว่าน่าจะถึงเดือนเมษายนนี้ ทางตนเองก็ได้ประกาศเสียงตามสายในหมู่บ้าน บอกให้ประชาชนต้องช่วยกันประหยัดการใช้น้ำทุกวัน ผู้สื่อข่าวถามว่า ต้องถึงขั้น เปิด-ปิดน้ำประปาเป็นเวลาไหม กำนันตอบว่าบ้านเราคงไม่ถึงขนาดนั้น แต่ถึงอย่างไรก็ต้องดูสถานการณ์อีกที ถ้าจำเป็นเราก็จะทำ กำนันทองพูลกล่าวปิดท้าย

 

หน้าแรก » ภูมิภาค