วันเสาร์ ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567 12:45 น.

ภูมิภาค

พบหมู่บ้านรักษาศีล๕ลบภาพลักษณ์เดิมคนสุรินทร์

วันศุกร์ ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560, 22.46 น.

 
พบหมู่บ้านรักษาศีล๕ลบภาพลักษณ์เดิมคนสุรินทร์

 

ยกหมู่บ้านบ้านตะเคียนสำโรงทาบต้นแบบ เหตุพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าที่ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาลดปัญหาความขัดแย้ง

 

 

วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ น. พระพรหมเสนาบดี ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ส่วนกลาง พร้อมด้วยคณะกรรมการจากส่วนกลางประกอบด้วย พระเทพศาสนาภิบาล พระครูปลัดสุวัฒนสมาธิคุณ นางจุไรรัตน์ มีศิริ กรรมการและผู้ช่วยเลขาฯ พร้อมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ส่วนกลาง และคณะกรรมการประจำหนตะวันออก ประกอบด้วย พระธรรมมังคลาจารย์ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ประจำหนตะวันออก นำคณะลงพื้นที่ภาคสนาม เยี่ยมชมการดำเนินการโครงการฯ "หมู่บ้านรักษาศีล ๕” โดยพระราชวิสุทธิมุนี เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ธ)


พระศรีสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ พระมหาเจริญสุข คุณวีโร รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ พระครูปริยัติกิจธำรง เจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์ พระครูอุปถัมภ์วรคุณ เจ้าอาวาสวัดตะเคียน นายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นายเพทาย สดทรงศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุรินทร์ พันเอกศักดา คล้ำมีศรี รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๒๕ นางสาวกานต์กมล ชุมภูทอง แรงงานจังหวัดสุรินทร์ นายกฤษณุ เหลืองพิบูลกิจ นายอำเภอเมืองสุรินทร์ นายวิโรจน์ อักษรดี นายอำเภอสังขะ นายคณัสชนม์ ศรีเจริญ นายอำเภอสนม นายภูษิต ลัทธิธนธรรม พัฒนาการจังหวัดสุรินทร์ นายมงคล ลำศรีสง ปลัดอาวุโสสำโรงทาบ นางสาววันเพ็ญ หาญเสมอ ปลัดอาวุโสอำเภอจอมนระ นายทะนงศักดิ์ เจริญสุข ปลัดอำเภอลำดวน


ดร.พิเชษฐ์ จันทร์ส่อง ท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ พันตำรวจเอกพิชิต มีแสง ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเทนมีย์ นายบุญถิ่น มหาสาโร รอง ผอ.สพป.สร.๑ นายสุรศักดิ์ เหมาะทอง รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ส่วนราชการทุกภาคส่วน นายสะพรั่ง วิสุนัต กำนันตำบลสำโรงทาบ นายสุรพงษ์ สุดคุ้ม ผู้ใหญ่บ้านตะเคียน และเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด และประชาชน มาร่วมสังเกตการณ์จำนวนมาก


นายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวถวายรายงานพอสรุปได้ว่า จังหวัดสุรินทร์ แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๗ อำเภอ ๑๕๘ ตำบล ๒,๑๒๐ หมู่บ้าน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น ๑,๓๙๑,๖๓๖ คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม ประชากรจังหวัดสุรินทร์ประกอบด้วยชน ๓ กลุ่ม คือ


๑. กลุ่มคนไทยเขมร เป็นผู้ที่มีความประณีตละเอียดอ่อน มีวิถีชีวิตเป็นของตนเอง เป็นกลุ่มชนที่มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๖๐ ของจำนวนประชากร นิยมทำงานฝีมือประเภทหัตถกรรม เช่น กลุ่มทอผ้าไทยยกทอง บ้านท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ เป็นผ้าไหมที่มีชื่อเสียง เคยได้รับคัดเลือกเป็นผ้าที่ตัดให้ผู้นำประเทศที่มาประชุมเอเปกในประเทศไทย ที่มีชื่อเสียง เคยได้รับคัดเลือกเป็นผ้าที่ตัดให้ผู้นำประเทศที่มาประชุมเอเปกในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการผลิตเครื่องประดับเงินที่สวยงาม ที่บ้านเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์


๒. กลุ่มคนไทยกูย เป็นกลุ่มที่มีความผูกพันกับช้าง นิยมเลี้ยงช้าง ทำให้จังหวัดสุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีช้างเลี้ยงมากที่สุด โดยอยู่ที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ช้างจังหวัดสุรินทร์เป็นช้างที่มีความสามารถมากกว่าช้างทั่วไป สามารถรับฟังคำพูดของคนได้เท่ากับเด็กอายุ ๘- ๑๒ ปี จึงเป็นช้างที่ฉลาดที่สุดในโลก โดยจังหวัดสุรินทร์จัดให้มีการแสดงของช้าง ปีละ ๑ ครั้ง ในห้วงสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี


๓. กลุ่มคนไทยลาว เป็นชนเผ่าที่มีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ และจะมีประเพณี และการละเล่นที่สนุกสนานตลอดทั้งปี ไม่มีปัญหาทางชาติพันธุ์แต่อย่างใด แม้จะมีอัตลักษณ์เฉพาะในแต่ละกลุ่มก็ตาม แต่มีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องประสานให้อยู่ร่วมก้น อย่างสันติสุข โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางทางจิตใจ มีพระสงฆ์ที่เป็นผู้ดำเนินการส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีปรองดอง สมานฉันท์ ส่วนราชการสนับสนุน ส่งผลให้จังหวัดสุรินทร์ มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” มากที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ ๙๐ ของจำนวนประชากร และมีชุมชนต้นแบบมากกว่า ๑๒ แห่ง ต่ออำเภอการขับเคลื่อนโครงการเชิงคุณภาพ โดยคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา องค์กรเครือข่ายเพื่อสังคมในท้องที่จังหวัดสุรินทร์ ดำเนินการพัฒนาสังคมภายใต้โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ต้นแบบ ดังนี้


๑. ประเภทรางวัลชนะเลิศ

- รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ บ้านตะเคียน หมู่ที่ ๑๓ ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ

- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้แก่ บ้านขุนไชย หมู่ที่ ๑๒ ตำบลเทนมีย์ อำเภอเมืองสุรินทร์

- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้แก่ บ้านดู่ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลธาตุ อำเภอรัตนบุรี


๒. ประเภทรางวัลชมเชย จำนวน ๖ รางวัล ได้แก่

- บ้านบัวโคก หมู่ที่ ๑๘ ตำบลบัวโคก อำเภอท่าตูม
- บ้านขามพัฒนา หมู่ที่ ๑๒ ตำบลทับทัน อำเภอสังขะ
- บ้านสำโรง หมู่ที่ ๑ ตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี
- บ้านตรวจ หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านตรวจ อำเภอศรีณรงค์
- บ้านโพธิ์ หมู่ที่ ๘ ตำบลหนองบัว อำเภอศีขรภูมิ
- บ้านพะเนา หมู่ที่ ๓ ตำบลปราสาททอง อำเภอเขวาสินรินทร์


โดยพระธรรมมังคลาจารย์ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ประจำหนตะวันออก เป็นประธานในการมอบโล่แก่ตัวแทนหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ ที่ได้รับรางวัล

จังหวัดสุรินทร์ได้คัดเลือก หมู่บ้านต้นแบบ เพื่อให้คณะกรรมการส่วนกลาง และคณะกรรมการประจำหนตะวันออกได้เยี่ยมชม คือ หมู่บ้านตะเคียน ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ

จังหวัดสุรินทร์ โดยมีจำนวนประชากรของหมู่บ้านตะเคียน มี ๑๖๒ ครอบครัว ประชากร ๘๕๑ คน สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ๗๙๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๕๓ ของจำนวนประชากร

ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น หรือหมู่บ้าน คือ


๑. ผลิตภัณฑ์ในหมู่บ้านมีผ้าไหมพื้นเมือง ผ้าย้อมจากสีธรรมชาติ
๒. ผ้าโสร่ง
๓. ผ้าซิ่น
๔. ผ้าขาวม้า
๕. หัวซิ่น
๖. ผ้าคลุมไหล่ ล้วนแล้วแต่เป็นผ้าทอจากเส้นไหมแท้ๆ
๗. กระเป๋า
๘. เสื้อผ้าสำเร็จรูป เสื้อไหมมะเกลือและแซวด้วยลวดลายต่าง ๆ มีตลาดรองรับคือตลาดชุมชน ตลาดโอท็อป ตลาดประชารัฐ ตลาดนัดสีเขียว ที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และออกจำหน่ายตามงานแสดสินค้าทั่วไปและข้าวห้องมะลิอินทรีย์ จำหน่ายปลีกและส่ง


จุดเด่นของหมู่บ้านได้แก่  พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าที่ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาลดปัญหาความขัดแย้ง


เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในหมู่บ้านอย่างเด่นชัด คือ พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าที่ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยการปฏิบัติตามหลักศีล ๕ เกิดความปรองดองสมานฉันท์ ลดปัญหาความขัดแย้ง สร้างความมั่นคงมีความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ทำให้สังคมสงบสุข ร่มเย็น และมีความสุขอย่างยั่งยืน มีวัฒนธรรมชายกูยที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นและการแซวเสื้อเป็นอัตลักษณ์ของชาวกูย


สำโรงทาบที่ราบลุ่ม จิตชุมชื่นผืนนากว้างไกล  วัฒนธรรมดีเหลือหลาย งามไฉไลผ้าไหมย้อมมะเกลือ งดงามเหลือรำแกล มอ งามแท้หนอผ้าไหมเรานี้เอย


ความเห็นของผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนมีจิตสำนึกและได้แสดงออกถึงความรับผิดชอบ ได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมถิ่นกำเหนิดของตนเอง ด้วยการสร้างความรักความสามัคคี ความเข้าใจในการอยู่รวมกันในสังคมอย่างมีสุข สร้างความปรองดองสมานฉันท์ เข้าใจในหลักธรรมมากขึ้น โดยได้นำหลักธรรมนั้นมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เช่น มีระเบียบ ขยัน อดทน ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบและกตัญญูกตเวที เป็นต้น จนเกิดเป็นคุณธรรมประจำชีวิต ไม่ตกเป็นทาสของความชั่วร้าย มีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยและสงบสุข และร่วมกันในการสืบอายุพระพุทธศาสนาต่อไป


ความเห็นของเจ้าอาวาสวัดประจำหมู่บ้านตะเคียน พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า ที่ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาโดยการปฏิบัติหลักศีล ๕ เกิดความปรองดองสมานฉันท์ ลดปัญหาความขัดแย้ง สร้างความมั่นคง ความปลอดภัยในทรัพย์สินของประชาชน ทำให้ชุมชนเกิดความสงบสุข มีความสามัคคีต่อกัน ไม่เบียดเบียนกัน เมตตาต่อกัน มีการเอื้อเฟื้อต่อเพื่อบ้านด้วยกัน ชุมชนได้เห็นคุณค่าและประโยชน์ในการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มาดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข และชุมชนมีความสัมพันธ์ อันดีงามระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน สมกับคำว่า “บวร”


สถิติคดีในหมู่บ้าน ตั้งแต่มีการรณรงค์โครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” สถิติคดีในหมู่บ้านมีน้อย โดยภาพรวมแล้ว จะคลี่คลายได้ในระดับหมู่บ้านหรือระดับชุมชน โดยได้รับการยืนยันจาก ร้อยตำรวจเอก ธรรม แสนจันดี ตำแหน่งรองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรสำโรงทาบ


คำแนะนำคณะกรรมการโดยพระเทพศาสนาภิบาล ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานคณะกรรมการโครงการฯ ส่วนกลาง ถือได้ว่าจังหวัดเลยนั้นประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนโครงการฯ “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” เป็นอย่างดี เพราะส่วนใหญ่แนวทางการดำเนินชีวิตของประชาชนก็จะใช้หลักของการรักษาศีล ๕ ในการดำเนินชีวิตอยู่แล้ว มีเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ อัตลักษณ์ ภายในจังหวัดที่ชัดเจนอย่างเห็นได้ชัด

......................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)

หน้าแรก » ภูมิภาค