วันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567 11:41 น.

ภูมิภาค

มท.3 ลงพื้นที่นครพนม ตรวจน้ำโขงสูงเกือบ 8 เมตร

วันพฤหัสบดี ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565, 10.25 น.

วันที่ 18 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำโขง ในพื้นที่จังหวัดนครพนม ว่า หลังมีฝนตกลงมาต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณน้ำโขง เพิ่มขึ้นวันละ ประมาณ 20 -30 เซนติเมตร ล่าสุดระดับน้ำโขงอยู่ระดับ ประมาณ 8 เมตร ห่างจากจุดวิกฤตล้นตลิ่ง 5 เมตร คือที่ระดับ 13 เมตร ส่งผลให้ลำน้ำสาขาสายหลัก เข่น ลำน้ำสงคราม ลำน้ำก่ำ มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของความจุ

 

 

 

โดยทางด้านการเฝ้าระวังเทศบาลเมืองนครพนม ได้เสริมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองฯจำนวน 4 จุด จากปกติมีระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ จำนวน 7 จุดเดิมอยู่ก่อนแล้ว รวมเป็น 11 จุด  เพื่อรองรับน้ำจากตัวเมือง รวมถึงในพื้นที่ชุมชนเศรษฐกิจ เร่งระบายลงน้ำโขงหากกรณีมีฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง อาจเสี่ยงต่อเกิดน้ำท่วมขังรอระบายลงน้ำโขง ยิ่งหากปริมาณน้ำโขงเพิ่มสูง ก็เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาน้ำโขงหนุนลำน้ำสาขาเอ่อล้นท่วมพื้นที่ลุ่ม ในพื้นที่เสี่ยง 4 อำเภอติดน้ำโขง ประกอบด้วย .บ้านแพง .ท่าอุเทน .เมืองฯ และ .ธาตุพนม ต้องเตรียมพร้อมเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง

 

 

 

ขณะเดียวกัน นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.3) พร้อมคณะ ร่วมกับ นายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ประเมิน ติดตามการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ บริเวณประตูระบายน้ำธรณิศนฤมิต .น้ำก่ำ .ธาตุพนม .นครพนม เพื่อวางแนวทาง กำชับเจ้าหน้าที่ เตรียมพร้อมรับมือ การระบายน้ำออกจากลำน้ำก่ำ ที่รองรับน้ำมาจากหนองหาร .สกลนคร ผ่าน ประตูระบายน้ำธรณิศนฤมิต โครงการชลประทานนครพนมและโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาน้ำก่ำ ก่อนไหลระบายลงน้ำโขง ส่วนปริมาณน้ำล่าสุด ในลำน้ำก่ำ  อยู่ที่ประมาณ 110 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 70 เปอร์เซ็นต์ของความจุ ต้องเริ่มระบายน้ำลงน้ำโขง เพื่อรองรับน้ำมาจากพื้นที่หนองหาร .สกลนคร รวมถึงปริมาณน้ำฝน หากมีฝนตกต่อเนื่อง ป้องกันน้ำเอ่อท่วมพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ลุ่ม

 

 

 

ทั้งนี้  นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กำชับให้หน่วยงานเกี่ยวข้องในพื้นที่ .นครพนม ในการดำเนินงานเตรียมเครื่องจักรและเครื่องมือไว้ให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุกน้ำ รถขุดตักแบบไฮดรอลิก รถแทรกเตอร์ รถบรรทุกเทท้ายเครื่องสูบน้ำ และอุปกรณ์อื่น รวมถึงบุคลากรที่มีความสามารถเพื่อรองรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝนนี้ คาดการณ์ว่ากว่าจะถึงสิ้นเดือนกันยายนน่าจะมีพายุเข้ามาอีกหลายลูก

 

 

 

 

ดังนั้นจึงอยากให้จังหวัดนครพนมได้นำสถานการณ์ปีที่ผ่านๆมา ถอดบทเรียนแล้วนำมาเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันรับมือน้ำท่วม พร้อมทั้งฝากในเรื่องของการสื่อสารกับประชาชนให้เข้าใจและติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอยากให้มีการฝึกทบทวนแผนงานในการเผชิญเหตุ การใช้เครื่องมือเครื่องจักร และการเข้าช่วยเหลือประชาชนสำหรับบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นด่านหน้า ให้มีความชำนาญเมื่อเกิดเหตุจะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที และสุดท้ายหากเกิดเหตุอยากให้ทุกหน่วยเข้าไปช่วยเหลือฟื้นฟูและเยียวยาโดยเร็ว มีการตรวจสอบความเสียหายพร้อมเสนอแผนงานโครงการขอรับงบประมาณสนับสนุนในการซ่อมแซมบำรุงรักษาในทันที

หน้าแรก » ภูมิภาค